วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระงานชิ้นที่ 2

ภาระงานชิ้นที่  2


ภาระงานที่ ๒ : การเขียนผังงาน (flowchart design)
จากการวิเคราะห์เนื้อหาในภาระงานที่๑ ขั้นตอนต่อไปเป็นการเขียนผังงาน เพื่อแสดงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมบทเรียนการเรียนการอนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งควรนำผังงานไปให้ผู้เชียวชาญตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมในการนำเสนอบทเรียน  จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชียวชาญต่อไป โดยปกติมีรูปแบบการเขียนผังงานดังต่อไปนี้

ภาระงานชิ้นที่ 1

ภาระงานชิ้นที่  1


ชื่อนักศึกษา   นางสาวนิลาวรรณ์  มะโนราช   สาขาวิชา ภาษาไทย  รหัส๕๓๑๘๑๐๑๐๑๑๐๕๔

ภาระงานที่ ๑ : การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (content analysis)

เป็นขั้นตอนในการกำหนดขอบเขตของเนื้อหาและกำหนดชื่อบทเรียนที่วิเคราะห์จากแผนการสอนที่ด้จัดทำไว้แล้ว โดยแยกเป็นการกำหนดหัวข้อเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ จากนั้น จึงระบุรายละเอียดของเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าเว็บเพจ หรือสไลด์ในการนำเสนอ สามารถออกแบบได้ดังตาราง ดังนี้

ชื่อบทเรียน  มาตราตัวสะกด  แม่กด

หัวข้อเนื้อหา / วัตถุประสงค์การเรียนรู้
รายละเอียดของเนื้อหา

หัวข้อเนื้อหา
.ความหมายมาตราตัวสะกด






                  ๒.มาตราตัวสะกด แม่ กด
         

        
             ๓.พยัญชนะในมาตราตัวสะกด แม่ กด


     ๔.การออกเสียงตัวสะกดแม่กด
        
                                                                                                    

        
            ๕. แบบฝึกหัดมาตราตัวสะกด แม่ กด

      
              ๖.สื่อวิดิทัศน์ มาตราตัวสะกด แม่ กด





วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

            ๑.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง มาตราตัวสะกด  แม่  "กน"
          ๒. เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน
             ๓.  เพื่อซ่อมเสริมและพัฒนาการเรียนรู้        ของผู้เรียน
        ๔. ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาเนื้อหาที่เรียนได้




      - ตัวสะกด หมายถึง พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระและมีเสียงประสมเข้ากับสระทำให้เสียงของคำแตกต่างกันตามตัวพยัญชนะที่นำมาประกอบ ตัวสะกดจำแนก              ได้เป็น   ประเภท ได้แก่
              ๑. ตัวสะกดตรงมาตรา เช่น กาน กาม          
              ๒. ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา เช่น กาล ขวัญ

-   แม่ กด เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ เป็นตัวสะกด และเมื่อแม่ กด สะกดกับคำใด
ก็จะอ่านออกเสียง สะกด

-   มาตราแม่ กด คือ คำที่มีตัว ต สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ด จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฑ ฒ ต ท ธ ศ ษ ส สะกด

-   แม่ กด  “เมื่ออยู่ท้ายพยางค์เป็นตัวสะกดของคำ ปลายลิ้นกับปุ่มเหงือกจะกักลมไว้ชั่วระยะเวลาอันสั้น แล้วปล่อยลมออกอย่างรวดเร็วในลักษณะระเบิด เพดานอ่อนยกขึ้นหรือลิ้นไก่ปิดกั้นลมออกทางช่องจมูกด้วย


              /contest2551/thai01/02/web/p13.html

          -         http://www.youtube.com/watch?v=
              =_CNO235XnUs&feature=related

สรุปการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สรุปการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

               คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้กันอยู่ในวงการศึกษาในปัจจุบันมีหลายประเภทตามความเหมาะสมของผู้ออกแบบ โดยอาศัยแนวความคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง การออกแบบบทเรียนจะเริ่มจากการให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียน ประเมินการตอบสนองของผู้เรียนให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการเสริมแรงและให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไป บทเรียนซีเอไอสามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ บทเรียนหนึ่งอาจมีหลายรูปแบบรวมกันอยู่ก็ได้


การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแยกตามโครงสร้างของประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1. การสอน/การทบทวน (tutorial instruction) วัตถุประสงค์เพื่อการสอนเนื้อหาใหม่
แก่ผู้เรียน มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย มีคำถามในตอนท้าย ถ้าตอบถูกและผ่าน ก็จะเรียนหน่วย
ถัดไป โปรแกรมประเภท Tutorial นี้มีผู้สร้างเป็นจำนวนมากเป็นการนำเสนอโปรแกรมแบบสาขา
สามารถสร้างเพื่อสอนได้ทุกวิชา โดยมีรูปแบบของบทเรียนดังนี้

สรุปสาระสำคัญของ e-Learning


สรุป  e-Learning
 ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ ๑ สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ได้
ลักษณะสำคัญของ e-learning  มีดังนี้
๑.  Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต
๒.  Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดีทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
๓.  Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
๔.  Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messengerและสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

ประเภท E-learning  ได้แก่
๑. แบบการสอน (Instruction)
๒ แบบสอนซ่อมเสริมหรือทบทวน (Tutorial)
๓. แบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติ (Drill and Practice)
๔. แบบสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation)
๕. แบบสร้างเป็นเกม (Game)
๖. แบบการแก้ปัญหา (Problem Solving)
๗. แบบทดสอบ (Test)
๘. แบบสร้างสถานการณ์เพื่อให้ค้นพบ (Discovery)


ข้อดีและข้อเสียของ   E-learning

 ข้อดี
๑. เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
๒. ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
๓. ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
๔. ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี
๕. ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น  E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

ข้อเสีย
๑. ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
๒. ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
๓. ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์              ทักษะการใช้งาน
๔. ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้
ประโยชน์ของ e-Learning ::
๑. ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
๒. เข้าถึงได้ง่าย
๓. ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
๔. ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง

แผนการสอน


กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                          ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑                                                          เรื่องมาตราตัวสะกด เวลา ๙ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๑                                                              เรื่องมาตราตัวสะกด แม่ กด เวลา ๑ชั่วโมง
………………………………………………………………………………………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้
..๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหา ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆเขียนรายงานข้อมูลสารสนเทและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
ท ๑././     อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และข้อความสั้นๆ
ท ๑././๒    บอกความหมายของคำ และข้อความที่อ่าน
ท ๒. /./   เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
        การอ่านออกเสียงบอกความหมายของคำคล้องจอง และข้อความที่ประกอบด้วยคำพื้นฐาน
สาระสำคัญ
        แม่กด เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ ด เป็นตัวสะกด ประกอบด้วยตัวสะกดดั้งนี้  จ  ฉ  ช  ซ  ด  ศ  ษ  ฎ  ฒ  ฐ  ฑ  ฌ ธ ซึ่งตัวสะกดตัวใดจะอ่านออดเสียง  ด  สะกด
จุดประสงค์การเรียนรู้
. ความรู้  (K)   
อ่านและเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกดด้วย  แม่ กด ได้
. ทักษะ/กระบวนการคิด  ( P) 
อ่านและเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกดด้วย แม่  กด  ได้และมี              ความหมายในมาตราตัวสะกดแม่ กด
. คุณลักษณะ  (A)
เห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน
มีนิสัยรักการอ่านและการเรียน
มีความกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้
มีความรับผิดชอบต่องานตัวเอง
สาระเนื้อหา
มาตราตัวสะกด  แม่ กด
สมรรถของผู้เรียน
๑ มีความสามารถในการสื่อสารกับการส่งสาร  จากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น  สามารถแก้ไขปัญหา สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้จากกระบวนการเรียนรู้ เพื่อดำเนินชีวิต
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑ มีวินัย
๒ ใฝ่เรียนรู้
๓ มุ่งมั่นในการทำงาน
๔ รักความเป็นไทย  


กระ บวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
               ๑.ในนักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                ๒. ทบทวนความรู้เดิมในเรื่องมาตราตัวสะกดต่างๆ             
ขั้นสอน
  ๓.ความหมายมาตราตัวสะกด
๔.อธิบายว่ามาตราตัวสะกด แม่  กด เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ “ด”  เป็นตัวสะกด และเมื่อแม่  กด สะกด   กับคำใดก็จะอ่านออกเสียง “ด”  สะกด  เช่น   มด   ชัด  จัด   กัด     เป็นต้น
  ๕.สอบถามนักเรียนว่า “นอกจากคำที่ครูยกตัวอย่างไป นักเรียนคิดว่ามีคำใดอีกบ้าง
ที่อยู่ในแม่ กด”
.อธิบายเพิ่มเติมเรื่องอักษรที่ใช้สะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กด  คือ  ด จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฑ ฒ ต ท ธ ศ ษ ส สะกด
.ครูเขียนแจกลูกคำที่สะกดด้วยแม่ กด แล้วอ่านแจกลูกให้นักเรียนอ่านตาม ดังนี้
                                                             
                
๘.นักเรียนทุกคนอ่านคำพร้อมกันจนครบอีกครั้ง
.สุ่มตัวแทนนักเรียนออกมายกตัวอย่างคำที่มี “ง”  สะกด พร้อมทั้งอ่านและขียน
แจกลูกให้เพื่อนๆ ดูบนกระดาน
๑๐. ครูแจกชุดการเรียนรู้ เล่มที่ ๑  เรื่อง แม่  กด  ให้นักเรียนคนละ ๑  เล่ม และอธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมให้นักเรียนฟังจนเข้าใจ
                                ๑๑. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง  แม่ กด 
                ๑๒. ศึกษาบัตรเนื้อหาที่ ๑  พร้อมทั้งปฏิบัติกิจกรรมในบัตรแบบฝึกหัด ที่ ๑๒ และ ๓  ด้วยตนเอง
๑๓. เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสร็จสิ้น ให้จับคู่เปลี่ยนกันกับเพื่อนตรวจสอบ
ความถูกต้องจากบัตรเฉลยแบบฝึกหัด ก่อนนำส่งครู ข้อใดตอบถูกได้ ๑ คะแนน ส่วนข้อที่ตอบผิด
ได้ ๐  คะแนน 
                ๑๔.  สอบถามนักเรียนว่ามีประเด็นใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ และต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม
ให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูอธิบายสิ่งที่นักเรียนยังไม่เข้าใจหรือสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
ให้นักเรียนฟังเพิ่มเติม

                ขั้นสรุป
๑๕.นักเรียนเข้ากลุ่มๆละ  ๔-๕  คน ช่วยกันสรุป ความรู้ เรื่อง แม่ กด จากนั้น
                ให้ส่งตัวแทนกลุ่มมานำเสนอข้อสรุปที่ได้  เพื่อนๆ กลุ่มอื่นแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
๑๖.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ เรื่อง แม่ กง โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียน
                 เข้าใจตรงกัน ดังนี้
-         แม่  กด  เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ “ด จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฑ ฒ ต ท ธ ศ ษ สสะกด
 เป็นตัวสะกด
-         แม่  กด สะกดกับคำใดก็จะอ่านออกเสียง “ด”  สะกด 
-          การอ่านและเขียนแจกลูก เช่น
           มอ-  โอะ  -  ดอ                                  มด

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
๑.      ชุดการเรียนรู้ เรื่อง  แม่ กด
๑.๑  บัตรเนื้อหาที่ ๑
๑.๒  บัตรแบบฝึกหัดที่ ๑,  ๒,  ๓
๑.๓  บัตรเฉลยแบบฝึกหัด
๑.๔  แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
๒.    หนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ป. ๑
  
กระบวนการวัดผลประเมินผล
                ๑.   วิธีการวัดผลและประเมินผล
                  ๑.๑ ด้านความรู้
๑.๑.๑  สังเกตการอ่านแจกลูกคำที่สะกดด้วยแม่ กด  
๑.๑.๒  ตรวจผลงานการทำแบบฝึกหัด เรื่อง แม่ กด 
๑.๑.๓  ตรวจการทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง แม่ กด  
                      ๑.๒  ด้านทักษะ
                               ๑.๒.๑ ทักษะทางวิชาการ
                               ๑.๒.๒ ทักษะสังคม
                       ๑.๓  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                            ๑.๓.๑ มีวินัย 
                                ๑.๓.๒ ใฝ่เรียนรู้  
                               ๑.๓.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน 

                ๒.  เครื่องมือวัดและประเมินผล
                     ๒.๑  แบบสังเกตการอ่านแจกลูกคำที่สะกดด้วย แม่ กด
                      ๒.๒  แบบบันทึกการตรวจผลงานการทำแบบฝึกหัด เรื่อง แม่ กด
                      ๒.๓  แบบบันทึกการทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง แม่ กด
                      ๒.๔  แบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะของนักเรียน
                      ๒.๕  แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

              ๓.  เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
                  ๓.๑ ด้านความรู้
                                ๓.๑.๑  การประเมินผลสังเกตการอ่านแจกลูกคำที่สะกดด้วย แม่ กด เกณฑ์ผ่าน ร้อยละ  ๘๐
                                ๓.๑.๒  คะแนนจากการทำแบบฝึกหัด เรื่อง แม่ กด  เกณฑ์ผ่าน ร้อยละ  ๘๐  
                                ๓.๑.๓   คะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียนเรื่อง แม่ กด เกณฑ์ผ่าน ร้อยละ  ๘๐
                      ๓.๒  ด้านทักษะ
                               ๓.๒.๑  ทักษะทางวิชาการ ได้ระดับคุณภาพ  ๒  ขึ้นไป
                               ๓.๒.๒  ทักษะสังคม ได้ระดับคุณภาพ  ๒  ขึ้นไป
                       ๓.๓  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                            ๓.๓.๑  มีวินัย  ได้ระดับคุณภาพ  ๒  ขึ้นไป
                                ๓.๓.๒  ใฝ่เรียนรู้  ได้ระดับคุณภาพ  ๒  ขึ้นไป
                               ๓.๓.๓  มุ่งมั่นในการทำงาน  ได้ระดับคุณภาพ  ๒  ขึ้นไป
หมายเหตุ :ระดับคุณภาพของแบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                    กำหนดระดับคุณภาพ    ๓ =  ดีมาก    ๒  =  ดี      ๑  ปรับปรุง
กิจกรรมเสนอแนะ
๑.      ให้นักเรียนแก้ไขข้อผิดพลาดที่พบในการทำแบบฝึกหัด เรื่อง แม่ กด  ถ้าข้อไหน
ทำผิดพลาดให้ทบทวนและลองทำใหม่อีกครั้ง
๒.     ให้นักเรียนฝึกอ่านและฝึกเขียนแจกลูกคำที่สะกดด้วยแม่ กด อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อสร้างความคงทนในการเรียนรู้

                                                                  แบบทดสอบ