วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

แผนการสอน


กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                          ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑                                                          เรื่องมาตราตัวสะกด เวลา ๙ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๑                                                              เรื่องมาตราตัวสะกด แม่ กด เวลา ๑ชั่วโมง
………………………………………………………………………………………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้
..๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหา ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆเขียนรายงานข้อมูลสารสนเทและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
ท ๑././     อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และข้อความสั้นๆ
ท ๑././๒    บอกความหมายของคำ และข้อความที่อ่าน
ท ๒. /./   เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
        การอ่านออกเสียงบอกความหมายของคำคล้องจอง และข้อความที่ประกอบด้วยคำพื้นฐาน
สาระสำคัญ
        แม่กด เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ ด เป็นตัวสะกด ประกอบด้วยตัวสะกดดั้งนี้  จ  ฉ  ช  ซ  ด  ศ  ษ  ฎ  ฒ  ฐ  ฑ  ฌ ธ ซึ่งตัวสะกดตัวใดจะอ่านออดเสียง  ด  สะกด
จุดประสงค์การเรียนรู้
. ความรู้  (K)   
อ่านและเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกดด้วย  แม่ กด ได้
. ทักษะ/กระบวนการคิด  ( P) 
อ่านและเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกดด้วย แม่  กด  ได้และมี              ความหมายในมาตราตัวสะกดแม่ กด
. คุณลักษณะ  (A)
เห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน
มีนิสัยรักการอ่านและการเรียน
มีความกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้
มีความรับผิดชอบต่องานตัวเอง
สาระเนื้อหา
มาตราตัวสะกด  แม่ กด
สมรรถของผู้เรียน
๑ มีความสามารถในการสื่อสารกับการส่งสาร  จากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น  สามารถแก้ไขปัญหา สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้จากกระบวนการเรียนรู้ เพื่อดำเนินชีวิต
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑ มีวินัย
๒ ใฝ่เรียนรู้
๓ มุ่งมั่นในการทำงาน
๔ รักความเป็นไทย  


กระ บวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
               ๑.ในนักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                ๒. ทบทวนความรู้เดิมในเรื่องมาตราตัวสะกดต่างๆ             
ขั้นสอน
  ๓.ความหมายมาตราตัวสะกด
๔.อธิบายว่ามาตราตัวสะกด แม่  กด เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ “ด”  เป็นตัวสะกด และเมื่อแม่  กด สะกด   กับคำใดก็จะอ่านออกเสียง “ด”  สะกด  เช่น   มด   ชัด  จัด   กัด     เป็นต้น
  ๕.สอบถามนักเรียนว่า “นอกจากคำที่ครูยกตัวอย่างไป นักเรียนคิดว่ามีคำใดอีกบ้าง
ที่อยู่ในแม่ กด”
.อธิบายเพิ่มเติมเรื่องอักษรที่ใช้สะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กด  คือ  ด จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฑ ฒ ต ท ธ ศ ษ ส สะกด
.ครูเขียนแจกลูกคำที่สะกดด้วยแม่ กด แล้วอ่านแจกลูกให้นักเรียนอ่านตาม ดังนี้
                                                             
                
๘.นักเรียนทุกคนอ่านคำพร้อมกันจนครบอีกครั้ง
.สุ่มตัวแทนนักเรียนออกมายกตัวอย่างคำที่มี “ง”  สะกด พร้อมทั้งอ่านและขียน
แจกลูกให้เพื่อนๆ ดูบนกระดาน
๑๐. ครูแจกชุดการเรียนรู้ เล่มที่ ๑  เรื่อง แม่  กด  ให้นักเรียนคนละ ๑  เล่ม และอธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมให้นักเรียนฟังจนเข้าใจ
                                ๑๑. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง  แม่ กด 
                ๑๒. ศึกษาบัตรเนื้อหาที่ ๑  พร้อมทั้งปฏิบัติกิจกรรมในบัตรแบบฝึกหัด ที่ ๑๒ และ ๓  ด้วยตนเอง
๑๓. เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสร็จสิ้น ให้จับคู่เปลี่ยนกันกับเพื่อนตรวจสอบ
ความถูกต้องจากบัตรเฉลยแบบฝึกหัด ก่อนนำส่งครู ข้อใดตอบถูกได้ ๑ คะแนน ส่วนข้อที่ตอบผิด
ได้ ๐  คะแนน 
                ๑๔.  สอบถามนักเรียนว่ามีประเด็นใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ และต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม
ให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูอธิบายสิ่งที่นักเรียนยังไม่เข้าใจหรือสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
ให้นักเรียนฟังเพิ่มเติม

                ขั้นสรุป
๑๕.นักเรียนเข้ากลุ่มๆละ  ๔-๕  คน ช่วยกันสรุป ความรู้ เรื่อง แม่ กด จากนั้น
                ให้ส่งตัวแทนกลุ่มมานำเสนอข้อสรุปที่ได้  เพื่อนๆ กลุ่มอื่นแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
๑๖.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ เรื่อง แม่ กง โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียน
                 เข้าใจตรงกัน ดังนี้
-         แม่  กด  เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ “ด จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฑ ฒ ต ท ธ ศ ษ สสะกด
 เป็นตัวสะกด
-         แม่  กด สะกดกับคำใดก็จะอ่านออกเสียง “ด”  สะกด 
-          การอ่านและเขียนแจกลูก เช่น
           มอ-  โอะ  -  ดอ                                  มด

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
๑.      ชุดการเรียนรู้ เรื่อง  แม่ กด
๑.๑  บัตรเนื้อหาที่ ๑
๑.๒  บัตรแบบฝึกหัดที่ ๑,  ๒,  ๓
๑.๓  บัตรเฉลยแบบฝึกหัด
๑.๔  แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
๒.    หนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ป. ๑
  
กระบวนการวัดผลประเมินผล
                ๑.   วิธีการวัดผลและประเมินผล
                  ๑.๑ ด้านความรู้
๑.๑.๑  สังเกตการอ่านแจกลูกคำที่สะกดด้วยแม่ กด  
๑.๑.๒  ตรวจผลงานการทำแบบฝึกหัด เรื่อง แม่ กด 
๑.๑.๓  ตรวจการทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง แม่ กด  
                      ๑.๒  ด้านทักษะ
                               ๑.๒.๑ ทักษะทางวิชาการ
                               ๑.๒.๒ ทักษะสังคม
                       ๑.๓  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                            ๑.๓.๑ มีวินัย 
                                ๑.๓.๒ ใฝ่เรียนรู้  
                               ๑.๓.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน 

                ๒.  เครื่องมือวัดและประเมินผล
                     ๒.๑  แบบสังเกตการอ่านแจกลูกคำที่สะกดด้วย แม่ กด
                      ๒.๒  แบบบันทึกการตรวจผลงานการทำแบบฝึกหัด เรื่อง แม่ กด
                      ๒.๓  แบบบันทึกการทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง แม่ กด
                      ๒.๔  แบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะของนักเรียน
                      ๒.๕  แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

              ๓.  เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
                  ๓.๑ ด้านความรู้
                                ๓.๑.๑  การประเมินผลสังเกตการอ่านแจกลูกคำที่สะกดด้วย แม่ กด เกณฑ์ผ่าน ร้อยละ  ๘๐
                                ๓.๑.๒  คะแนนจากการทำแบบฝึกหัด เรื่อง แม่ กด  เกณฑ์ผ่าน ร้อยละ  ๘๐  
                                ๓.๑.๓   คะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียนเรื่อง แม่ กด เกณฑ์ผ่าน ร้อยละ  ๘๐
                      ๓.๒  ด้านทักษะ
                               ๓.๒.๑  ทักษะทางวิชาการ ได้ระดับคุณภาพ  ๒  ขึ้นไป
                               ๓.๒.๒  ทักษะสังคม ได้ระดับคุณภาพ  ๒  ขึ้นไป
                       ๓.๓  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                            ๓.๓.๑  มีวินัย  ได้ระดับคุณภาพ  ๒  ขึ้นไป
                                ๓.๓.๒  ใฝ่เรียนรู้  ได้ระดับคุณภาพ  ๒  ขึ้นไป
                               ๓.๓.๓  มุ่งมั่นในการทำงาน  ได้ระดับคุณภาพ  ๒  ขึ้นไป
หมายเหตุ :ระดับคุณภาพของแบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                    กำหนดระดับคุณภาพ    ๓ =  ดีมาก    ๒  =  ดี      ๑  ปรับปรุง
กิจกรรมเสนอแนะ
๑.      ให้นักเรียนแก้ไขข้อผิดพลาดที่พบในการทำแบบฝึกหัด เรื่อง แม่ กด  ถ้าข้อไหน
ทำผิดพลาดให้ทบทวนและลองทำใหม่อีกครั้ง
๒.     ให้นักเรียนฝึกอ่านและฝึกเขียนแจกลูกคำที่สะกดด้วยแม่ กด อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อสร้างความคงทนในการเรียนรู้

                                                                  แบบทดสอบ













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น